เรื่อง
เตาอบพลังงานแสงอาทิตย์
โดย
1. เด็กหญิงจันทน์กมล คงแก้ว
เลขที่ 4
2. เด็กหญิงณัฐกฤตา ปลอดทองสม เลขที่
9
3. เด็กหญิงปณิญชญาณ์ พรหมเจริญ เลขที่
15
4. เด็กหญิงพีรยา สาและ เลขที่ 21
5. เด็กหญิงศุภลักษ์ มัชฌิมาภิโร เลขที่
27
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่
2/12
ครูที่ปรึกษา
คุณครู
สุชาติ บุญสนอง
คุณครู
สุภาพร แก้วสะโร
ภาคเรียนที่
2 ปีการศึกษา 2561
โรงเรียนวรนารีเฉลิม
จังหวัดสงขลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
เขต 16
ก
ชื่อโครงงาน เตาอบพลังงานแสงอาทิตย์
ชื่อ-สกุลผู้จัดทำโครงงาน 1. ด.ญ.จันทน์กมล คงแก้ว
2. ด.ญ.ณัฐกฤตา ปลอดทองสม
3. ด.ญ.ปณิญชญาณ์ พรหมเจริญ
4.
ด.ญ.พีรยา สาและ
5.
ด.ญ.ศุภลักษ์ มัชฌิมาภิโร
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/12
ชื่อ-สกุลครูที่ปรึกษาโครงงาน 1. นายสุชาติ บุญสนอง
2.นางสุภาพร แก้วสะโร
บทคัดย่อ
เรื่อง
เตาอบพลังงานแสงอาทิตย์
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุณหภูมิภายในและภายนอกของเตาอบพลังงานแสงอาทิตย์ในแต่ละช่วงเวลา
โดยคณะผู้จัดทำได้ทำการประดิษฐ์เตาอบพลังงานแสงอาทิตย์โดยทำจากอะลูมิเนียมและกระจกเป็นหลักเป็นรูปแบบที่นำความร้อนได้ดี
ผลการศึกษาพบว่าเตาอบพลังงานแสงอาทิตย์ใช้งานได้จริง
จากกการประดิษฐ์และศึกษาอุณหภูมิภายในและภายนอกของเตาอบพลังงานแสงอาทิตย์ในแต่ละ
ในรูปแบบการทำมีการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้อาทิเช่น การนำความร้อน
การดูดความร้อน การพาความร้อน เป็นต้น การประดิษฐ์เตาอบพลังงานแสงอาทิตย์สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายภายในบ้าน
ลดภาวะโลกร้อน และสามารถลดภาวะเรือนกระจกได้
คำสำคัญ : เตาอบพลังงานแสงอาทิตย์
วิทยาศาสตร์
กิตติกรรมประกาศ
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง เตาอบพลังงานแสงอาทิตย์
เป็นโครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์และทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ทำให้ผู้จัดทำเกิดความภาคภูมิใจ และ มีความสุขในการเรียนวิทยาศาสตร์เพิ่มมากยิ่งขึ้น
โครงงานนี้ประสบผลสำเร็จได้ด้วยความสนับสนุนของผู้ปกครอง คุณครู ที่ช่วยสนับสนุนในด้านต่างๆ เกี่ยวกับการทำโครงงานครั้งนี้ ขอขอบพระคุณ
ผู้ปกครองทุกท่าน
คุณครูสุภาพร แก้วสะโร และคุณครูสุชาติ บุญสนอง ที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับโครงงานในเรื่องนี้ และช่วยดูแลช่วยเหลือในการศึกษาค้นคว้า คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทสิ่งประดิษฐ์ เรื่องเตาอบพลังงานแสงอาทิตย์ จะเกิดประโยชน์ในเรื่องที่เกี่ยวข้องต่อไป
บทที่ 1
บทนำ
1.1 ที่มาและความสำคัญ
พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานที่จัดได้ว่าไม่มีวันหมด
และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้
เช่น อบอาหาร ตากอาหาร
เพื่อลดมลภาวะที่เกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมและสามารถสร้างผลิตภัณฑ์อาหารในรูปแบบต่างๆเพื่อสร้างรายได้ได้อีกด้วย
โดยทางกลุ่มของเราได้คิดที่จะประดิษฐ์เตาอบพลังงานแสงอาทิตย์ให้สามารถใช้งานได้จริง
และมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยนำวัสดุที่สามารถนำความร้อนได้มาประดิษฐ์เป็นเตาอบพลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งสามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องพึ่งพลังงานไฟฟ้า
โดยแสงอาทิตย์ส่องผ่านกระจก และกระทบผ่านกระจกใสสู่ตู้อบ
ซึ่งทำหน้าที่ดูดกลืนความร้อนสะสมไว้
ทำให้อุณหภูมิภายในตู้อบสูงขึ้น และทำให้อาหารได้รับความร้อนเเละสามารถอบได้
โดยเตาอบพลังงานแสงอาทิตย์นี้สามารถใช้งานได้แม้ไม่มีพลังงานไฟฟ้าและสามารถระบายความชื้นของอาหารได้ด้วยวิธีธรรมชาติและใบพัดที่สามารถช่วยกระจายความร้อนภายในเตาอบพลังงานแสงอาทิตย์ได้อย่างทั่วถึง
โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา ได้มีการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงปลูกผัก ว.ฉ.2
และเกิดปัญหาการแปรรูป เก็บรักษาพืชผลทางการเกษตรทางกลุ่มเรา
จึงมองเห็นความสำคัญที่จะนำพลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตเตาอบพลังงานแสงอาทิตย์
1.2 วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาอุณหภูมิภายในและภายนอกของเตาอบพลังงานแสงอาทิตย์ในแต่ละช่วงเวลา
1.3 ขอบเขตของการศึกษา
ขอบเขตของเนื้อหา
ศึกษาขั้นตอนการประดิษฐ์และช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการอบอาหารของเตาอบพลังงานแสงอาทิตย์
ขอบเขตของระยะเวลา
คาดการณ์ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาในช่วงเดือนตุลาคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์
ขอบเขตของสถานที่
โรงเรียนวรนารีเฉลิม
จังหวัดสงขลา
2
1.4 สมมุติฐานของการศึกษาค้นคว้า
อุณหภูมิในแต่ละช่วงเวลาทั้งภายในและภายนอกของเตาอบพลังงานแสงอาทิตย์ต่างกันและมีผลต่อการสุกของอาหารที่ต่างกัน
1.5 ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
ตัวแปรต้น คือ
ช่วงเวลา
ตัวแปรตาม คือ อุณหภูมิภายในและภายนอกของเตาอบพลังงานแสงอาทิตย์ในแต่ละช่วงเวลา
ตัวแปรควบคุม คือ สถานที่ ระยะเวลา
1.6 นิยามเชิงปฏิบัติการ
พลังงานแสงอาทิตย์ หมายถึง การเปลี่ยนแสงอาทิตย์โดยตรงมากกว่า
เปลี่ยนไปเป็นพลังงานความร้อนหรือพลังงานไฟฟ้าสำหรับการใช้งาน
เทอร์มอมิเตอร์ หมายถึง
เครื่องมือที่ใช้สำหรับวัดอุณหภูมิ
เตาอบ หมายถึง
เป็นอุปกรณ์เครื่องครัวชนิดหนึ่ง ให้ความร้อนแก่อาหาร
อะลูมิเนียม หมายถึง อะลูมิเนียม
เป็นโลหะที่พบในชีวิตประจำวัน และใช้ในงานต่างๆ รองจากเหล็ก และทองแดง เช่น
ใช้ทำภาชนะในครัวเรือน ของใช้อื่นๆ และวัสดุก่อสร้าง
อะลูมิเนียมเป็นโลหะที่นำไปใช้แทนเหล็ก และทองแดงมากขึ้นทุกที
สายไฟสีดำ หมายถึง สายไฟที่ใช้ต่อวงจรไฟฟ้าที่เป็นขั้วลบ
สายไฟสีแดง
หมายถึง สายไฟที่ใช้ต่อวงจรไฟฟ้าที่เป็นขั้วบวก
โซล่าเซลล์
หมายถึง เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าซึ่งทำหน้าที่แปลงพลังงานแสงหรือโฟตอนเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยตรงโดยปรากฏการณ์โฟโตโวลตาอิก นั่นก็คือ
คุณสมบัติของสารเช่น ค่าความต้านทาน แรงดัน และกระแส
จะเปลี่ยนไปเมื่อมีแสงตกกระทบโดยไม่ต้องอาศัยแหล่งจ่ายไฟภายนอก และเมื่อต่อหลอดไฟจะทำให้เกิดกระแสไหลผ่านหลอดนั้นได้
คอนโทรลชาร์จเจอร์โซล่าเซลล์
หมายถึง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตัวหนึ่งที่มีคุณสมบัติเพียงเพื่อคอยควบคุมการชาร์จไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลลงสู่แบตเตอรี่
ของระบบโซล่าเซลล์เพื่อเก็บกระแสไฟเพื่อนำมาใช้งานตามที่เราออกแบบไว้
บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
กลุ่มผู้ทำโครงงานได้ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้
โดยแบ่งการศึกษาออกเป็นหัวข้อต่างๆ ดังนี้
1. เตาอบพลังงานแสงอาทิตย์
2. อุณหภูมิของโลก
3.
การใช้ประโยชน์จากดวงอาทิตย์
4. โครงงานที่เกี่ยวข้อง
1.เตาอบพลังงานแสงอาทิตย์
เตาอบพลังงานแสงอาทิตย์
ผลิตจากกล่องโฟม ใช้แทนเตาอบไมโครเวฟที่เราใช้ในปัจจุบันได้เลย ในเรื่องของการปิ้ง
ย่าง ต้ม และยังปลอดภัยจากรังสีตกค้าง เพราะใช้พลังงานธรรมชาติ 100 % คุณลุงอรรถพล ศิริปุณย์
สมาชิกบอร์ด รักบ้านเกิด เป็นผู้นำความรู้นี้มาเผยแพร่ ซึ่งได้รับความสนใจจนต้องนำมาเผยแพร่และบอกต่อถึงขั้นตอนและวิธีการทำเตาพลังงานแสงอาทิตย์
ที่ทำตามได้ง่ายและมีต้นทุนที่แสนต่ำ
2.อุณหภูมิของโลก
ข้อมูลของหน่วยงานต่าง
ๆ บ่งชี้ว่า ปี ค.ศ 2016
(พ.ศ.2559) เป็นปีที่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์
โดยมีปัจจัยหลักมาจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของมนุษย์และปรากฏการณ์เอลนีโญ องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (นาซา)
และสำนักงานอุตุนิยมวิทยาสหราชอาณาจักร ระบุว่า อุณหภูมิเฉลี่ยเมื่อปี 2016
สูงกว่าปี 2015 ราว 0.07 องศาเซลเซียส แม้ว่าสำนักงานอุตุนิยมวิทยาสหราชอาณาจักรจะบอกว่าอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับค่าความคลาดเคลื่อน
แต่นาซาชี้ว่าปีที่ผ่านมามีอุณหภูมิสูงทุบสถิติต่อเนื่องกันเป็นปีที่ 3 แล้ว ข้อมูลขององค์การนาซา
บ่งชี้ว่า ปี 2016 เป็นปีที่ร้อนที่สุดนับแต่มีการบันทึกข้อมูลเมื่อปี
1880 ดร.เกวิน ชมิดต์ จากนาซา บอกบีบีซีว่า
ค่อนข้างชัดเจนว่าอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นเป็นผลมาจากความเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากปรากฏการณ์เอลนีโญในมหาสมุทรแปซิฟิก
แต่ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลระยะยาวยังมาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของมนุษย์
ส่วนอีกปัจจัยก็คือสภาพภูมิอากาศที่อุ่นขึ้นผิดปกติในแถบขั้วโลกเหนือ
โดยมีรายงานว่าน้ำแข็งที่ปกคลุมขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ลดลงจนเกือบแตะระดับต่ำสุดเมื่อเดือน
ก.ย. 2016
สำนักงานอุตุนิยมวิทยาสหราชอาณาจักร ระบุว่า อุณหภูมิเฉลี่ยเมื่อปี 2016
สูงกว่าอุณหภูมิเฉลี่ยระยะยาว 0.77 องศาเซลเซียส
และเมื่อรวมข้อมูลล่าสุดของปีที่แล้วพบว่า ปีที่ร้อนที่สุด 15 ปีจากทั้งหมด 16 ปี เกิดขึ้นหลังจากปี 2001 เป็นต้นมา ส่วนปีที่ร้อนที่สุดอีก 1 ปี
4
คือปี 1998 ซึ่งร้อนที่สุดเป็นอันดับที่
7 โดยผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า
สภาพอากาศร้อนต่อเนื่องกันเป็นเวลานานส่งผลกระทบอย่างมากทั่วทั้งโลก
3.การใช้ประโยชน์จากดวงอาทิตย์
ระบบเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ในช่วงรังสีคลื่นสั้น
(short wave radiation) ให้เป็นพลังงานความร้อนผ่านตัวเก็บรังสีอาทิตย์
(solar collector) โดยอาศัยหลักการเบื้องต้นของแสง
ซึ่งเมื่อตกกระทบวัตถุใดๆ จะเกิดปรากฏการณ์เชิงแสง 4 รูปแบบ
ได้แก่ การดูดกลืนแสง (absorption) การเปล่งแสง (emission)
การสะท้อนแสง (reflection) และการส่องผ่าน (transmission)
โดยวัสดุต่างชนิดกันจะมีสมบัติเชิงแสงต่างกัน
การเลือกวัสดุที่มีสมบัติเชิงแสงที่เหมาะสมมาสร้างเป็นระบบทำความร้อน ทำให้ใช้ประโยชน์ได้ในหลากหลายลักษณะ
เช่น การผลิตน้ำร้อน การสร้างความอบอุ่นในอาคารบ้านเรือนในเขตหนาว กระบวนการอบแห้ง
หรือการผลิตกระแสไฟฟ้า เป็นต้น
การใช้ประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อทำความร้อนเริ่มมีบันทึกเป็นหลักฐานครั้งแรกในปี
ค.ศ. 1774 โดยนักเคมีชาวฝรั่งเศสชื่อ อังตวน ลาวัวซิเย (Antoine
Lavoisier) ผู้ประดิษฐ์เครื่องจักรที่ใช้รวมแสงอาทิตย์เพื่อให้ความร้อนในการทดลองทางเคมี
4.โครงงานที่เกี่ยวข้อง
ชุมชนของเรามีผลผลิตทางการเกษตรหลายชนิด
ได้แก่ พืช ผัก ผลไม้และปลา ซึ่งในบางฤดูกาล
ผลิตภัณฑ์มีปริมาณมากเกินความต้องการของผู้บริโภค ทำให้ราคาของผลผลิตถูกลง
และเมื่อจำหน่ายผลผลิตได้ไม่หมดในเวลาอันควร จะเกิดการเน่าเสียของผลผลิต
แต่ถ้าสามารถยืดระยะเวลาในการเก็บรักษาให้นานขึ้น
จะช่วยลดการสูญเสียในส่วนนี้ลงได้ ซึ่งวิธีการที่นิยมใช้ในอดีตจนถึงปัจจุบัน คือ
การนำผลผลิตทางการเกษตรไปตากแดด แต่วิธีนี้มีข้อเสีย
คือความไม่แน่นอนของสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะในฤดูฝนที่สภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย
และอาจเกิดการปนเปื้อนของผลิตภัณฑ์จากฝุ่นละอองและจุลินทรีย์
การอบแห้งด้วยตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์เป็นอีกวิธีที่นำมาใช้ถนอมอาหารและเก็บรักษาผลผลิตทางการเกษตร
ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการอบแห้งแล้ว จะมีความชื้นลดลง
ทำให้จุลินทรีย์ที่อยู่ในผลิตภัณฑ์มีอัตราการเจริญเติบโตช้าลง
ผลิตภัณฑ์จะไม่เน่าเสียง่าย
อีกทั้งยังมีน้ำหนักและปริมาตรลดลงทำให้ลดต้นทุนในการขนส่งการเก็บรักษาและในการอบแห้งด้วยตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์นี้ยังปราศจากสิ่งปนเปื้อนภายนอก
เช่น แมลงวัน มด ฝุ่นละอองต่างๆ
ที่สามารถป้องกันสิ่งปนเปื้อนเหล่านี้ได้และขณะที่เราลืมเก็บมีฝนตกลงมา
ผลิตภัณฑ์ไม่เปียกชื้น
บทที่ 3
วิธีการดำเนินการศึกษา
1.1
วัสดุ-อุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษา
1.อะลูมิเนียม
2.กระจก
3.ล้อเลื่อน
4.ใบพัด , มอเตอร์
5.ตะแกรง
6.โซล่าเซลล์
7.ลวดนิโครม
8.ขาพับ
9.เทอร์มอมิเตอร์
10.สีดำ
11.คอนโทรลชาร์จโซล่าเซลล์
12.แบตเตอรี่
13.สายไฟ
วิธีการศึกษา
ตอนที่ 1
เพื่อศึกษาอุณหภูมิภายในและภายนอกของเตาอบพลังงานแสงอาทิตย์ในแต่ละช่วงเวลา
ขั้นตอนที่
1 การสร้างส่วนบนของเตาอบพลังงานแสงอาทิตย์
1.ตัดกระจกเป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉากที่มีฐานยาว 6 นิ้ว
สูง 8 นิ้ว ด้านตรงข้ามมุมฉาก 10 นิ้ว
จำนวน4 แผ่น นำมาต่อกันอย่างละ 2 แผ่น
จะได้รูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว 2 รูป
2.นำกระจกมาตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยาว 20 นิ้ว
กว้าง 10 นิ้ว จำนวน 2 แผ่น
เป็นส่วนที่นำมาต่อกับกระจกที่ตัดไว้ในขั้นตอนที่ 1 โดยให้ที่รอยต่อของกระจกสามารถพับเก็บได้
(จะเป็นรูปคล้ายหลังคาบ้าน)
ขั้นตอนที่
2 การสร้างส่วนล่างของเตาอบพลังงานแสงอาทิตย์
1.นำอะลูมิเนียมมาเชื่อมกันให้เป็นรูปกล่องสี่เหลี่ยมพื้นผ้า ที่มีความกว้าง
12 นิ้ว ยาว 20 นิ้ว สูง 7 โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ชั้น ขั้นด้วยตะแกรงสำหรับวางอาหาร
6
2.นำใบพัดมาติดตั้งไว้ใต้ตะแกรงเพื่อกระจายความร้อนให้ทั่วเตาอบพลังงานแสงอาทิตย์
ขั้นตอนที่
3 ขั้นตอนการประกอบเตาอบพลังงานแสงอาทิตย์
1.นำกล่องอะลูมิเนียมในขั้นตอนที่ 2 มาให้ติดกันกับกระจกในขั้นตอนที่
1
2.หลังจากนั้นทำที่ปิดเตาอบพลังงานแสงอาทิตย์
3.ทำขาตั้ง 2 ขนาด โดยใช้เหล็ก คือ 1. ยาว 13 นิ้ว
2. ยาว 20 นิ้ว
4.นำขาตั้งแต่ละขนาดมาต่อตามต้องการและติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์
ตอนที่ 2 ศึกษาอุณหภูมิภายในและภายนอกของเตาอบพลังงานแสงอาทิตย์ในแต่ละช่วงเวลา
วิธีการศึกษา
1.นำเตาอบพลังงานแสงอาทิตย์จากตอนที่ 1 มาตั้งไว้กลางสนามใน
3 ช่วงเวลา คือ ในช่วงเช้าเวลา 08.00น
- 10.00 น. วัดอุณหภูมิตอน10.00 น. 11.00 น. – 13.00 น.วัดอุณหภูมิตอนเวลา 13.00 น. ในช่วงเย็นเวลา 14.00
น. – 16.00 น. วัดอุณหภูมิตอนเวลา 16.00
น. โดยในการทดสอบครั้งนี้ใช้กุ้งสดขนาด 5 เซนติเมตรอบภายในเตาอบพลังงานแสงอาทิตย์โดยจะต้องติดตั้งเทอร์มอมิเตอร์ทั้งภายในและภายนอกของเตาอบพลังงานแสงอาทิตย์
2.นำอุณหภูมิที่บันทึกได้ทั้งหมดมาเปรียบเทียบกัน
แล้วสังเกตว่าอุณหภูมิในช่วงเวลาใดสูงที่สุดจึงจะเหมาะแก่การวางเตาอบพลังงานแสงอาทิตย์เพื่ออบอาหาร
บทที่
4
ผลการศึกษา
โครงงานวิทยาศาสตร์
เรื่อง เตาอบพลังงานแสงอาทิตย์มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอุณหภูมิภายในและภายนอกของเตาอบพลังงานแสงอาทิตย์ในแต่ละช่วงเวลา
คณะผู้จัดทำได้ดำเนินการศึกษาและได้ผลการศึกษา ดังต่อไปนี้
การที่ทางคณะผู้จัดทำได้มีการศึกษาทดลองอุณหภูมิภายในและภายนอกของเตาอบพลังงานแสงอาทิตย์ในแต่ละช่วงเวลาคณะผู้จัดทำได้ดำเนินการศึกษาโดยการนำเตาอบพลังงานแสงอาทิตย์ที่สร้างขึ้นไปทดสอบประสิทธิภาพใน
3 ช่วงเวลาคือในช่วงเช้าเวลา 08.00น - 10.00 น. วัดอุณหภูมิตอน10.00 น. 11.00 น. – 13.00 น.วัดอุณหภูมิตอนเวลา 13.00 น. ในช่วงเย็นเวลา 14.00
น. – 16.00 น. วัดอุณหภูมิตอนเวลา 16.00
น. โดยในการทดสอบครั้งนี้ใช้กุ้งสดขนาด 5 เซนติเมตรอบภายในเตาอบพลังงานแสงอาทิตย์ในแต่ละช่วงเวลาแล้ววัดอุณหภูมิและสังเกตว่าในช่วงเวลาใดที่เตาอบพลังงานแสงอาทิตย์ทำให้กุ้งสุกดีและใช้เวลาน้อยที่สุด
ได้ผลการทดสอบดังตารางที่ 1
ตารางที่
1 แสดงอุณหภูมิในแต่ละช่วงเวลามีผลให้มีการสุกของกุ้งที่ต่างกัน
ช่วงเวลา
|
อุณหภูมิ
|
การสุกของกุ้ง
|
08.00น - 10.00 น.
|
75 องศาเซลเซียส
|
10
|
11.00 น. – 13.00 น.
|
100 องศาเซลเซียส
|
5
|
14.00 น. – 16.00 น.
|
85 องศาเซลเซียส
|
7
|
จากตารางที่ 1 พบว่าจากการแบ่งช่วงเวลาออกเป็น
3 ช่วงเวลาดังที่ได้กล่าว
โดยในช่วงเวลาที่แตกต่างกันทำให้อุณหภูมิภายในเตาอบพลังงานแสงอาทิตย์ต่างกันออกไปและมีผลทำให้กุ้งสุกที่แตกต่างกันเช่นกัน
ในช่วงเช้าเวลา 08.00น - 10.00 น. วัดอุณหภูมิได้ 75
องศาเซลเซียส มีผลทำให้กุ้งใช้เวลาในการสุก
10 นาที
ในช่วงเที่ยงเวลา 11.00 น. – 13.00 น. วัดอุณหภูมิได้ 100 องศาเซลเซียส มีผลทำให้กุ้งใช้เวลาในการสุก 5 นาที
และในช่วงเย็นเวลา 14.00 น. – 16.00 น. วัดอุณหภูมิได้ 85 องศาเซลเซียส มีผลทำให้กุ้งใช้เวลาในการสุก 7 นาที ดังนั้นสรุปได้ว่า
“เตาอบพลังงานแสงอาทิตย์”สามารถนำไปใช้งานได้จริง
มีประสิทธิภาพในการใช้งานสูง ปลอดภัย ประหยัดพลังงาน ลดการเกิดมลพิษในอากาศ
มีขนาดสำหรับพกพาและใช้งานได้สะดวก
โดยเตาอบพลังงานแสงอาทิตย์สามารถใช้งานได้ในระยะยาว
บทที่
5
สรุปและอภิปรายผลการศึกษา
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง เตาอบพลังงานแสงอาทิตย์มีวัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาอุณหภูมิภายในและภายนอกของเตาอบพลังงานแสงอาทิตย์ในแต่ละช่วงเวลา
สรุปผลการศึกษา
1. อุณหภูมิในแต่ละช่วงเวลาทั้งภายในและภายนอกของเตาอบพลังงานแสงอาทิตย์ต่างกันและมีผลต่อการสุกของอาหารที่ต่างกัน
2. อุณหภูมิในแต่ละช่วงเวลาภายในเตาอบพลังงานแสงอาทิตย์มีอุณหภูมิที่แตกต่างกันทำให้ประสิทธิภาพในการทำให้อาหารสุกในแต่ละช่วงเวลามีผลที่แตกต่างกันไปด้วย
3.เตาอบพลังงานแสงอาทิตย์เครื่องนี้สามารถใช้ประกอบอาหารและสามารถทำให้อาหารสุกได้จริง
ประโยชน์ที่ได้จากการทำโครงงาน
1. สามารถออกแบบและประดิษฐ์เตาอบพลังงานแสงอาทิตย์ได้
2. ได้วิธีการแปรรูปอาหารที่ปลอดภัย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ใช้ไฟฟ้า
3. สามารถลดมลพิษในอากาศและสามารถประหยัดค่าไฟได้ในส่วนหนึ่ง
4. ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
5. รู้จักการทำงานเป็นทีม
6. มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
ข้อเสนอแนะ
จากการศึกษาการประดิษฐ์เตาอบพลังงานแสงอาทิตย์ในครั้งนี้
คณะผู้จัดทำได้มีข้อเสนอแนะ ดังต่อไปนี้ เตาอบพลังงานแสงอาทิตย์
ถ้ามีผู้จะศึกษาต้องการให้เตาอบพลังงานแสงอาทิตย์ทำให้อาหารสุกเร็วกว่าเดิม
และมีความสะดวกในการใช้งาน ในการประดิษฐ์มากกว่านี้
บรรณานุกรม
เตาอบพลังงานแสงอาทิตย์ต้นทุน 500 บาท
ภูมิปัญญานายอรรถพล ศิริปุณย์ สืบค้นเมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2562
เรื่อง
ตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบหลังคาจั่ว เทพกร ลีลาแต้ม
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร สืบค้นเมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2562
จาก http://atc.snru.ac.th/components/contents/view.php?id=73
ว้าวน่าสนใจมากค่ะ
ตอบลบ